เอกสารกู้เงิน ต้องใช้อะไรบ้าง?

เมื่อเวลาต้องการเงิน เพื่อมาใช้จ่าย หรือซื้อสินค้า/บริการอะไรที่เราต้องการ หรือมีเหตุอันจำเป็นอื่น ๆ นอกจากหาจากแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ เช่น กู้เงินจากธนาคาร กู้เงินจากสถาบันการเงินแล้ว การขอหยิบยืมจากคนรู้จักเป็นอีกหนทางหนึ่งเช่นกัน โดยดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับที่จะตกลงกัน โดยเอกสารกู้เงิน ต้องใช้อะไรบ้างนั้น เราไปหาข้อมูลมาให้คุณกันแล้ว เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นค่ะ ไปเช็คกันค่ะว่าคุณเตรียมครบหรือยัง

เอกสารกู้เงิน

สัญญายืมเงิน – เอกสารกู้เงิน

การจะทำเรื่องขอกู้เงินนั้น หากเป็นยอดที่ไม่ถึง 2,000 บาทสำหรับการยืมทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องทำสัญญา แต่ตกลงด้วยวาจาก็สามารถฟ้องร้องกันได้ค่ะ แต่หากเป็นยอดที่มากกว่า 2,000 บาท ต้องทำเป็นหนังสือสัญญายืมเงินระหว่างกันให้เรียบร้อย ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถจะฟ้องร้องกันได้ โดยรายละเอียดในหนังสือสัญญาควรมีข้อมูลต่าง ๆ ครบถ้วน อาทิเช่น วันเวลาที่สัญญา, ยอดเงินที่ขอกู้, อัตราดอกเบี้ย, การลงมือชื่อระหว่างผู้ให้กู้ กับผู้กู้ และพยานค่ะ  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ว่าในแบบฟอร์มขอกู้เงินต้องมีรายละเอียดอย่างไร คลิกที่นี่

ก่อนจะลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินนั้น คุณต้องอ่านรายละเอียดต่าง ๆ ให้ละเอียด และครบถ้วน เพราะในบางครั้งก็จะเป็นสำนวนภาษาทางกฎหมายที่เข้าใจได้ยาก ซึ่งอาจทำให้คุณเป็นฝ่ายเสียเปรียบได้ รวมไปถึงข้อความในเอกสารต่าง ๆ ไม่ควรมีจุดหรือช่องเว้นว่างที่ผิดปกติ เพราะอาจทำให้เกิดการไปเพิ่มเติมข้อความในภายหลังได้ จึงควรระมัดระวังอย่างมากค่ะ

สัญญายืมเงิน แบบ ถูก กฎหมาย

สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ในเวลากู้เงินนั้น ต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ค่ะ

  1. กู้เงินผ่านสถาบันการเงิน หากเป็นการทำเรื่องขอกู้เงินผ่านสถาบันการเงินหรือธนาคารทั้งหลาย เขาจะมีการกำหนดในเรื่องเอกสารค่อนข้างละเอียดอยู่แล้ว เนื่องจากต้องใช้เอกสารเหล่านั้นในการพิจารณาเพื่ออนุมัติสินเชื่อให้กับคุณ ได้แก่
  • สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาบัตรข้าราชการ หรือสำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน บางสถาบันฯ จะใช้คู่กับสำเนาบัตรข้าราชการหรือสำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • สลิปเงินเดือน เดือนล่าสุด หรือหนังสือรับรองรายได้ที่ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน
  • สำเนาบัญชีธนาคาร ย้อนหลัง 3 – 6 เดือน โดยบางสถาบันจะระบุถึงบัญชีที่เป็นธนาคารที่คุณรับเงินเดือน
  • หากเป็นเจ้าของธุรกิจหรือประกอบอาชีพส่วนตัว หากเป็น หจก. หรือบริษัท ก็จะใช้สำเนาทะเบียนการค้า หรือสำเนาจดทะเบียนนิติบุคคล
  • เอกสารอื่น ๆ อาทิเช่น สำเนาบัญชีธนาคารอื่น ๆ ที่เป็นเงินเก็บ (กรณีเราแยกบัญชี) หรือ สำเนาทะเบียนสมรส / หย่า หรือสำเนาการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล เป็นต้น

2. กู้เงินนอกระบบ กับคนรู้จักหรือผู้ให้กู้ หากเป็นการกู้ในลักษณะนี้ควรมีการทำสัญญาให้ชัดเจน ระบุยอดเงิน ดอกเบี้ย ระยะเวลา และข้อมูลอื่น ๆ ให้ถูกต้องตามที่ตกลงกัน ตัวอย่างเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน เอกสารที่ใช้มักใช้น้อย ไม่ยุ่งยาก โดยทั่วไป มักต้องการเพียงสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนเท่านั้น

จะเห็นได้ว่าเอกสารกู้เงินที่เป็นการกู้ในระบบจะใช้เอกสารเยอะกว่า ต้องตรวจสอบรายได้ของคุณว่ามีกำลังเพียงพอในการชำระหนี้ แต่ทว่าดอกเบี้ยที่คุณจะต้องจ่ายก็จะน้อยกว่า อีกทั้งเป็นแบบลดต้นลดดอก รวมถึงไม่ต้องพบเจอการทวงหนี้ที่โหดร้ายอย่างที่เคยดูข่าวในทีวี ดังนั้นกู้เงินในระบบเถอะค่ะ หากติดปัญหาเรื่องเงินเดือนที่ไม่แน่นอน เป็นพ่อค้าแม่ค้า ตรวจสอบสินเชื่อจากธนาคารออมสินกันได้ คลิกที่นี่ ค่ะ